วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การฝึกว่ายน้ำ

การฝึกว่ายน้ำ
ขั้นตอนแรสุดที่เริ่มหัด แนะนำ Basic สุดเหมือนที่ครูว่ายน้ำ ทั้งหลายแนะนำกัน คือฝึกเกาะขอบสระตีขาให้เคยชิน การตีขา เป็นลักษณะการตีโบกไปทั้งท่อนขา จุดหมุน อยู่ที่ข้อสะโพก ส่วนตัวเข่าและ น่อง และปลายเท้าเหยียดไปยาว ๆ แบบสบายไม่เกร็งให้พริ้วไปตามการโบก ต้องให้เพื่อน ๆ คอยช่วยดู แล้วติแก้ไข หรือก้มหันไปมองดูขาตัวเองบ้าง ที่ผิดกันมากก็คือ มักงอเข่าตีน้ำ ใช้ เข่าเป็นจุดหมุนออกแรง แทนของสะโพก ซึ่งผิด หัดไปซักระยะจนขาเริ่มคล่องฟรี แล้ว ค่อยยืดแขนออกจากขอบสระ จากการเกาะ ติดขอบสระตีขา มาเป็นเกาะขอบสระแล้วตีขาเหยียด อาจจะก้มหน้าจมลงน้ำแล้วเงยขึ้นมาหายใจ สลับบ้างก็ได้ ขั้นตอนนี้ จะทำให้เรา สามารถใช้ขาได้คล่องและเริ่มชินกับการลอยตัวตามยาว ตามผิวน้ำ โดยยังอาศัยมือ ช่วยจับพยุงไว้เล็กน้อย เมื่อคล่องดีแล้ว ข้ามไปขั้นที่สอง

ขั้นที่สอง เป็นการลอยตัวตีขาไปข้างหน้า เกาะโฟมตีขา โดยจะใช้มือเกาะแผ่นโฟม เหยียดแขน ออกแล้วตีขาโบกน้ำ เหมือนกับการเกาะขอบสระ และตีขา ให้ตัวลอยไปข้างหน้าเรื่อย ๆ ฝึกการทรงตัว และใช้ ขา โดยยังไม่ใช้แขน เพราะใหม่ ๆ ใช้ทั้งขาและแขนพร้อม ๆ กัน มันจะฝืน ๆ ถ้าเหยียดแขนห่างตัวแล้ว หน้ายังคอยจะจมน้ำ อาจจะงอแขนเอาโฟมมารองใต้อกก่อนในระยะแรกก็ได้ แล้ว เมื่อคล่อง ๆ ค่อยยืดแขนออกไป ระยะนี้ เมื่อคล่อง จะเห็นว่า เราเริ่มเคลื่อนไหวในน้ำได้ แล้ว แต่ยังต้องอาศัยโฟม ช่วยพยุงตัวเล็กน้อย 

ขั้นตอนที่สาม เคลื่อนไหวในน้ำด้วยตัวเอง โดยไม่ใช้โฟมแล้ว เราจะลอยตัวตีขาเหมือนเดิม โดยเหยียดแขนตรงไปข้างหน้า คว่ำหน้าจมน้ำ ก่อนคว่ำลงไป หายใจเข้าให้สุดเต็มที่แล้วกลั้นไว้ ตัวเหยียดตรง แล้วตีขาเหมือนตอนเกาะโฟม ตัวจะพุ่งไปข้างหน้าเรื่อย ๆ เหมือนการว่ายน้ำ แต่ไม่ใช้แขน และกลั้นหายไป จนสุดลมหายใจ ค่อยทิ้งตัวลงยืน ขึ้นมาหายใจ ทำไปเรื่อยๆ จะได้จังหวะการตีขา และเคลื่อนไหวตัว ที่ถ้าทำได้ดี ตัวจะพุ่งไปข้างหน้าได้ดีพอใช้โดยยังไม่ได้ใช้แขน

ขั้นตอนที่สี่ เริ่มใช้แขนช่วยในการว่ายน้ำ ก็เหมือนขั้นตอนที่สาม แต่แทนที่จะเหยียดแขนไปข้างหน้าเฉยๆ ก็เริ่มหัดใช้แขวนว่ายน้ำจัดระเบียบแขน และ มือให้พอดี ตอนมือลงไปในน้ำก็ออกแรงดึงแหวกน้ำเข้ามาหาตัว ว่ายจ้วงไปเรื่อย ๆ ร่วมกับการตีขา หมดลมกลั้นหายใจ ก็ขึ้นมายืน หายใจ แล้วค่อยเริ่มใหม่ ขึ้นตอนนี้ จะเป็นการฝึกใช้มือร่วมกับ การตีขา เป็นการว่ายน้ำ ครบแล้ว พอว่ายไปได้ระยะนึง การทำงาน มันจะประสานกันไปอัตโนมัติ แต่ยังคงว่ายไกลไม่ได้เพราะว่าเรายังอาศัยการกลั้นหายใจขณะว่าย

ขั้นตอนที่ห้า เริ่มฝึกหัดหายใจ ขณะว่ายน้ำ การหายใจ ขณะว่ายน้ำ ถ้าเป็นท่ามาตรฐาน เราก้มหน้าอยู่ในน้ำขณะว่ายกันตลอด จะเงยขึ้นมาเมื่อต้องการหายใจเท่านั้น โดยต้องคอยดูจังหวะการหายใจ โดยจะหันหน้าเอียงขึ้นด้านข้าง ข้างใดข้างหนึ่งก็ได้เป็นระยะ เพื่อหายใจเอาอากาศเข้าไป ให้เต็มที่ ก่อนจะหันหน้ากลับไปก้มลงมองพื้นสระว่ายต่อไป 

สำหรับการหายใจบางคนหัดใหม่ จะว่ายแบบชูคอหายใจตลอดเวลา ไม่ก้มหน้า ก็อาจจะทำได้ แต่มันโต้น้ำและไม่ค่อยถนัดเหมือนการว่ายท่าฟรีสไตล์มาตรฐาน

เมื่อว่ายได้และหายใจได้ดี แล้ว ต่อไปก็เป็นการฝึกหัดจัดท่าตัวเราตอนว่าย ทั้งแขน ขา และลำตัว เวลาว่ายใหม่ ๆ แค่โบกขาเป็นจังหวะ แต่ใช้การว่ายแหวกน้ำด้วยมือ ไป จะไวกว่า มีคนบอกว่าการเคลื่อนไหวตัวของเราในน้ำ ให้นึกภาพว่า ไม่ใช่เราไปตะกุยน้ำ แต่เหมือนเราค่อย ๆ แหวกตัวแรกพริ้วไปในน้ำ เวลาว่ายแล้วนึกภาพตามไปว่ายยื่นแขนออกไปเอี้ยวตัวโบกขาให้เหมือนรู้สึกเราแทรกตัวเลื้อยไปในน้ำ 

ส่วนเรื่องการลอยตัวในน้ำ ลอยตัวโดยการนอนหงายเงยหน้า แล้วตีขาโบก กับมือโบกได้ แต่ถ้าให้ลอยตัวแนวตั้งมันจะจม ตลอด

หลักการก็คือสูดลมหายใจ เข้าไปลึก ๆ ให้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ถพ.ของร่างกายเราลดมาเหลือ ประมาณ 0.95 ซึ่งลอยน้ำนิด ๆอยู่แล้ว แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะทำให้จมูกกับปากพ้นน้ำ ดังนั้น จึงต้องใช้มือเท้า ช่วยโบกตีน้ำให้ตัวลอยพ้นน้ำขึ้นมาหายใจเป็นระยะ เมื่อหายใจเต็มที่แล้ว จะปล่อยให้ตัวจมไปลอยปริ่ม ๆน้ำโดยกลั้นหายใจในน้ำ ก็ได้ 

การฝึกลอยตัวควรฝึกตรงที่น้ำลึกขาไม่ถึงพื้น แต่ว่า อยู่ในระยะที่ใกล้ขอบสระ เพื่อจะได้เกาะได้ทัน 

บทความดีๆน่าอ่านมากมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น