
สาว ๆ ระวังให้ดี...ปวด (ฉี่) ต้องรีบปล่อยก่อนโรคช้ำรั่วถามหา (Lisa)
ปัสสาวะไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จนเกิดอาการปัสสาวะเล็ดราด เรื่องน่าอายที่สาว ๆ อาจไม่กล้าบอกใคร แต่นอกจากจะแก้ไขได้แล้ว ยังป้องกันได้ด้วย
ถึงไฮดี้ คลุม จะดูสวยเฉิดฉายแค่ไหนในตอนตั้งท้อง แต่คนที่กำลังตั้งท้องก็เสี่ยงต่อการเกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ เช่นเดียวกับ อิสลา ฟิซเซอร์ ที่กำลังตั้งครรภ์ที่สองหลังแต่งงานกับ ซาซ่า บารอน โคเฮน ได้ไม่นาน ถึงแม้เหล่าดาราสาว ๆ จะไม่มีใครออกมาบอกว่าพวกเธอต้องพบกับอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ (Urinary Incontinence, UI) หรือที่เรียกว่าอาการช้ำรั่วกันมั่งหรือเปล่า แต่สำหรับเหล่าดาราสาวที่กำลังตั้งครรภ์นั้น ก็ถือเป็นกลุ่มหนึ่งที่เสี่ยงกับการเกิดอาการนี้ อย่างไรก็ตาม การเข้าใจว่าอาการช้ำรั่วเกิดได้แต่เพียงกับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ หรือในผู้หญิงสูงวัย ถือเป็นความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งในหมู่ผู้หญิง (ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นโรคนี้มากกว่าผู้ชายถึงสามเท่า) และอาจทำให้เกิดความอายที่จะไปปรึกษาแพทย์ เมื่อเกิดอาการดังกล่าวขึ้น ทั้งที่ความจริงแล้ว อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่นั้นเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกวัย
แต่ความจริงอีกอย่างหนึ่งก็คือ อาการนี้ สามารถเยียวยาและป้องกันได้ เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากพบกับปัญหาน่าอาย ที่รบกวนการใช้ชีวิตของคุณเช่นนี้ ก็ต้องอ่านเรื่องต่อไปนี้

เมื่อดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารผ่านการกรองของไต ของเสียจะถูกเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งกล้ามเนื้อส่วนนี้จะยืดได้ หากน้ำปัสสาวะมีประมาณ 200 ซี.ซี. จะรู้สึกปวดปัสสาวะเล็กน้อย ถ้าทำเป็นลืม ความรู้สึกปวดปัสสาวะจะค่อยๆ หายไป แต่เมื่อมีน้ำปัสสาวะขังประมาณ 300-400 ซี.ซี. กระเพาะปัสสาวะค่อนข้างเต็มที่จะทำให้รู้สึกปวดมาก อยากไปห้องน้ำ ปริมาณมากขนาดนี้จะกลั้นแทบไม่อยู่จนอาจปัสสาวะราดได้
ในผู้ใหญ่ที่แข็งแรง จำนวนครั้งของการปัสสาวะตามปกติตอนกลางวันประมาณ 4-6 ครั้ง ปัสสาวะกลางคืนหลังนอนหลับ 0-1 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ปริมาณปัสสาวะ จำนวนครั้งของการปัสสาวะอาจแปรเปลี่ยนไปได้ตามจำนวนน้ำที่ดื่ม อุณหภูมิของอากาศภายนอก ปริมาณเหงื่อที่ออก และวัย

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่หมายถึงการที่มีปัสสาวะรั่วไหล โดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งมาพอที่จะทำให้เป็นปัญหาในการเข้าสังคม หรือเป็นปัญหาทางสุขภาพและอนามัยสามารถแยกออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ดังนี้คือ






หลากหลายสาเหตุของโรคช้ำรั่ว
สาเหตุสำคัญคือความผิดปกติที่เกิดขึ้นทั้งในส่วนของการทำงาน และอวัยวะที่มีส่วนในการควบคุมการปัสสาวะ เช่น สมองและระบบประสาทที่ควบคุมการกลั้นและขับปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะท่อปัสสาวะ ระบบหูรูด กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน โดยมีสาเหตุต่าง ๆ กันในแต่ละกลุ่มอายุดังนี้




การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุของโรคว่า เกิดความบกพร่องที่อวัยวะในการควบคุมการปัสสาวะส่วนใด โดยทั่วไปมีอยู่ 3 วิธีคือ พฤติกรรมบำบัด การรักษาทางยา และการผ่าตัด ผู้ที่มีอาการไม่มากควรเริ่มจากการทำพฤติกรรมบำบัด นั่นคือ การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานโดยการขมิบหูรูด ลักษณะเหมือนตอนที่กลั้นปัสสาวะ ทำอย่างน้อยวันละ 100 ครั้ง แล้วเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นเรื่อย ๆ แต่ต้องใช้เวลานับเดือนกว่าจะเห็นผล และควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการเกิดซ้ำ
บางครั้งก็อาจใช้ยาเข้าช่วย เช่น ยาช่วยในการบีบตัวของกล้ามเนื้อบริเวณท่อปัสสาวะ ยาลดการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น หรือใช้อุปกรณ์ในการลดการรั่วซึมของปัสสาวะ เช่น อุปกรณ์สอดช่องคลอด เพื่อยกและกดบริเวณทางออกหรือคอของกระเพาะปัสสาวะไว้ หรืออุปกรณ์สอดใส่ท่อปัสสาวะ หรือการใช้ผ้าอนามัย เพื่อซับน้ำปัสสาวะที่รั่วซึมไว้ แต่ถ้ามีอาการมาก จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เช่น ในกรณี ที่มีการหย่อนของคอกระเพาะปัสสาวะ จะทำการผ่าตัดเพื่อพยุงบริเวณคอกระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะส่วนต้นไว้

ถ้าไม่อยากถูกรบกวนจากภาวะเช่นนี้ นี่คือ 4 วิธีการที่ควรฝึกให้เป็นนิสัย เพื่อป้องกันไว้ก่อน











ขอขอบคุณข้อมูลจาก


สุดท้ายผมขอฝากเรื่องข้อต่อและกระดูกไว้ด้วยครับ
เพราะปัจจุบันนี้โรคเกี่ยวกับข้อต่อและกระดูก
เป็นภัยเงียบที่น่ากลัวผมไม่อยากเห็นเพื่อนๆ
หรือคนที่เพื่อนๆรักป่วยเป็นโรคเหล่านี้
เพราะมันอาจจะรุนแรงถึงขั้นเดินไม่ได้เลยนะครับ
ยังไงผมก็ฝากเรื่องนี้ไว้ด้วย
ด้วยความห่วงใยจากผม
แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะครับ
สวัสดีครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น