วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

งีบหลับยามบ่ายช่วยให้สมองแล่น

นอนหลับ

งีบหลับยามบ่ายช่วยให้สมองแล่น (ไทยโพสต์)

          เจ้านายคงไม่ชอบ แต่ถ้าแอบหลับในที่ทำงาน หัวคิดจะแล่นดีขึ้น

          ผลวิจัยทางการแพทย์หลายชิ้นบอกว่า การงีบหลับตอนกลางวันอย่างที่วินสตัน เชอร์ชิล, อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ และมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ชอบทำนั้น ไม่เพียงทำให้สมองแจ่มใสเท่านั้น แต่ยังช่วยให้มีปัญญาหลักแหลมขึ้นด้วย

          นักวิจัยพบว่า การงีบหลับวันละ 1 ชั่วโมงช่วยให้สมองสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้ดีขึ้นในช่วงวันที่เหลือ โดย ดร.แมทธิว วอล์กเกอร์ นักจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ผู้ทำวิจัย บอกว่า การนอนหลับช่วยให้ระบบประสาททำงานได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงก่อนการงีบหลับ

          หลายคนเห็นเป็นเรื่องน่าขันที่บางคนงีบหลับหลังมื้อเที่ยง แต่คนที่มีชื่อเสียงหลายคนต่างเป็นนักงีบกันทั้งนั้น

          เลดี้ แธตเชอร์บอกว่า นางนอนหลับตอนกลางคืนแค่ 4 ชั่วโมง แต่อาศัยงีบหลับช่วงสั้น ๆ ในตอนกลางวัน บิล คลินตัน มักงีบ 30 นาทีหลังมื้อกลางวัน อีกหลายคน เช่น จอห์น เอฟ. เคเนดี, โรนัลด์ เรแกน และฟลอเรนซ์ ไนติงเกล ก็ล้วนทำแบบเดียวกัน

          นักวิจัยด้านการนอนหลายรายบอกว่า นิสัยของชาวอังกฤษ ซึ่งพยายามตื่นอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เช้าถึงค่ำ เป็นเรื่องไม่ดีต่อสุขภาพ ขณะที่ชาวสเปนขึ้นชื่อว่า เป็นนักงีบหลังมื้อกลางวันตัวยง

          ในงานวิจัยดังกล่าว นักวิจัยได้ให้นักศึกษาที่มีสุขภาพดี 39 คนแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แล้วขอให้ทดลองทำกิจกรรมที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ เช่น จับคู่ชื่อกับภาพใบหน้า เพื่อศึกษาสมอง ส่วนฮิปโอแคมปัส ซึ่งทำหน้าที่บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ในตอนบ่ายสอง กลุ่มหนึ่งเข้านอนเป็นเวลา 90 นาที อีกกลุ่มให้รู้สึกตัวตื่นอยู่ตลอด พอถึง 6 โมงเย็น นักวิจัยขอให้เด็กทั้งสองกลุ่ม ทดสอบสมรรถภาพในการเรียนรู้อีกครั้งหนึ่ง จากนั้น รายงานผลการทดลองนี้ต่อที่ประชุมของสมาคม เพื่อความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อเมริกัน ที่เมืองซานดิเอโก แคลิฟอร์เนีย ว่า เด็กกลุ่มที่ได้นอนกลางวันทำคะแนนได้ดีกว่าอีกกลุ่มตั้งเยอะ

          คำอธิบายก็คือ การนอนช่วยให้สมองลบข้อมูลที่เป็นความจำระยะสั้นทิ้งไป เพื่อให้มีที่ว่างสำหรับบันทึกข้อมูลใหม่ ๆ "มันเหมือนกับกล่องอีเมล์ในฮิปโปแคมปัสของคุณมันเต็มแล้ว ถ้าไม่นอนหลับเพื่อลบอีเมล์พวกนั้น คุณก็จะรับอีเมล์ใหม่ ๆ ไม่ได้ "

          ด้วยการวัดทางไฟฟ้าที่สมอง นักวิทยาศาสตร์พบว่า กระบวนการปรับความจำใหม่นี้เกิดขึ้น ในช่วงระหว่างการหลับลึกกับช่วงที่เราฝัน ซึ่งเรียกว่า อาร์อีเอ็ม หรือ rapid eye movement

          คนทั่วไปใช้เวลาครึ่งหนึ่งของการนอนหลับไปกับการนอนช่วงนี้ ซึ่งเรียกว่า ช่วงการนอนขั้นที่สอง

          งานวิจัยยังพบด้วยว่า เด็กที่ใช้เวลาตลอดทั้งคืนอ่านหนังสือเตรียมสอบ มีความสามารถในการจดจำข้อมูลใหม่ ๆ ลดลงถึง 40%

          รู้อย่างงี้แล้ว แอบงีบหลับช่วงเที่ยงกันดีกว่า


ขอขอบคุณข้อมูลจาก



ผมไม่ได้สนับสนุนให้อู้งานนะครับ
แค่อยากเห็นทุกคนมีสุขภาพดี

สุดท้ายผมขอฝากเรื่องข้อต่อและกระดูกไว้ด้วยครับ
เพราะปัจจุบันนี้โรคเกี่ยวกับข้อต่อและกระดูก
เป็นภัยเงียบที่น่ากลัวผมไม่อยากเห็นเพื่อนๆ
หรือคนที่เพื่อนๆรักป่วยเป็นโรคเหล่านี้
เพราะมันอาจจะรุนแรงถึงขั้นเดินไม่ได้เลยนะครับ
ยังไงผมก็ฝากเรื่องนี้ไว้ด้วย
ด้วยความห่วงใยจากผม
แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้านะครับ
สวัสดีครับ
สนใจแนวทางป้องกัน ดูแลสุขภาพของข้อเข่าและข้อต่อต่างๆในร่างกาย อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น